เมนู

อรรถกถาทุติยทุสีลยสูตร



พึงทราบอธิบายใน ทุติยทุสีลยสูตรที่ 7
บทว่า สมฺปรายิกํ มรณภยํ ได้แก่ ไม่กลัวความตายที่จะมาถึง
ในภายหน้าเป็นเหตุ. บทว่า สมควรแก่คฤหัสถ์ ได้แก่ เหมาะแก่คฤหัสถ์
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยทุสีลยสูตรที่ 7
จบสรกานิวรรควรรณนาที่ 3

8. ปฐมเวรภยสูตร



ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ



[1574] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านอนาถ-
บิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนคฤหบดี ภัยเวร
5 ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติ-
ยังคะ 4 ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง
ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต
สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ
ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[1575] ภัยเวร 5 ประการอันสงบระงับไปเป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี
บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็น
ไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะการฆ่าสัตว์
เป็นปัจจัย เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบ
ระงับ ไปด้วยประการฉะนี้บุคคลผู้ลักทรัพย์... บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
บุคคลผู้พูดเท็จ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท ย่อมประสบภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปใน
สัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย เมื่ออริยสาวกงดเว้น
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอันนั้น
เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร 5 ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.
[1576] อริยสาวกประกอบด้วยโสดาปัตติยังคะ 4 ประการเป็นไฉน
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวก
ประกอบด้วยโสดาปัตติยังคะ 4 ประการเหล่านี้.
[1577] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว โดยอุบายอันแยบคายเป็น
อย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการ
ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการ

ดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมี
วิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้
ก็เพราะอวิชชาดับ ด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ เพราะ
สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วย
ประการฉะนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้วด้วยปัญญา.
[1578] ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร 5 ประการนี้ของอริยสาวก
สงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติยังคะ 4 ประการเหล่านี้
และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า.
จบปฐมเวรภยสูตรที่ 8

9. ทุติยเวรภยสูตร



ระงับภัยเวร 5 พยากรณ์ตนเองได้



[1579] สาวัตถีนิทาน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภัยเวร
5 ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดา-
ปัตติยังคะ 4 ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้น
เห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง